Content

DIVANA SPA
วิธีรักษาออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) โรคที่ส่งผลต่อคนวัยทำงานจำนวนมากในปัจจุบัน เป็นโรคที่เกิดจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ทำให้มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น คอ หลัง ไหล่ และอ่อนเพลีย หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบรักษาก่อนเรื้อรัง ซึ่งวิธีรักษาออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน นี้มีอะไรบ้าง Divana นำข้อมูลดีๆ มาฝากกันค่ะ

 

สัญญาณเตือนอาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) สังเกตได้ด้วยตัวเอง

• ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน เช่น ต้นคอ บ่า ไหล่ หลัง สะบัก โดยไม่สามารถระบุตำแหน่งปวดได้ชัดเจน

• ปวดยึดเกร็ง เนื่องจากการทำงานผิดท่าเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะการทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์

• ตาพร่ามัว อาการต่อเนื่องจากการจ้องจอเป็นเวลานานทำให้กล้ามเนื้อตาล้า และอาจมีอาการหูอื้อมึนงงร่วมด้วย 

• ปวด เหน็บ ชา ในท่านั่งนานๆ เกิดการกดทับเส้นเลือดดำ ทำให้การไหลเวียนของเลือดมีความผิดปกติ แต่หากมีอาการชาที่มือ โดยมากจะเกิดจากปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณมืออักเสบร่วมด้วย

• ปวดศีรษะเรื้อรัง ในบางคนอาจมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย มักมีสาเหตุมาจากความเครียดสะสม หรือการใช้สายตาจ้องอยู่ที่เดิมๆ เป็นระยะเวลานาน

 

อาการที่ไม่ควรมองข้าม ต้องรีบพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างเหมาะสม 

• อาการปวดเมื่อยรุนแรง

• อาการปวดเมื่อยรบกวนการใช้ชีวิต

• อาการปวดเมื่อยไม่ดีขึ้นหลังจากพักหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

ขั้นตอนการนวดหินร้อนบำบัดรักษาออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน ได้อย่างไร?

วิธีรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ดังนี้

1) การรักษาด้วยยา โดยกลุ่มยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้อักเสบ สามารถใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อยจากออฟฟิศซินโดรมได้ อย่างไรก็ตาม ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

2) การทำกายภาพบำบัด จะช่วยให้กล้ามเนื้อและข้อต่อที่ตึงคลายตัวลง โดยการทำท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อ การประคบร้อน การอัลตราซาวนด์ การนวด และการทำกายภาพบำบัดควรทำโดยนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญ

3) การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือก เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย การใช้โปรแกรมนวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ หลัง เพื่อบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ อย่างไรก็ตาม ควรได้รับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

4) การปรับพฤติกรรม การปรับพฤติกรรมการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นอีกวิธีที่สำคัญในการป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม และช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ดังนี้

• ปรับท่านั่งทำงาน ไม่ควรนั่งหลังค่อมหรือโน้มคอลงมากเกินไป ปรับความสูงของเก้าอี้และโต๊ะทำงานให้เหมาะสม เพื่อให้หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ระดับสายตา

• ลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 30-60 นาที เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงตัว

• ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

• พักผ่อนให้เพียงพอ

 

นอกจากนี้ ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และจัดสรรเวลาการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม และที่สำคัญไม่ลืมหาช่วงเวลาสร้างความสมดุลให้กับชีวิต พร้อมสร้างความผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ

 

พบโปรแกรมแก้ปัญหาออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ที่ Divana Spa ทุกสาขา 

สอบถามข้อมูล Line: @divanathailand